9 ทำไมต้องHEAVY

คนส่วนใหญ่ มักจะเข้าใจคำว่า

 " ภูมิสถาปัตยกรรม หรือเทคโนโลยีภูมิทัศน ์ " คือวิชาที่เกี่ยวกับการจัดสวนจัดบริเวณเท่านั้น

HEAVY SCAPE ? (out-law & out-kara landscape ) in thailand

( ภูมิทัศน์ นอกกะลา ) การปฏิวัติยุคสมัย ด้วยสายไฟเส้นเดียว

1 อ่านข้อชี้แจง

2 ทำความเข้าใจกันก่อน

 3 นิยามความหมาย

4 ขอบข่ายในเรื่องงาน

5 จากที่ท้าวความ

6 เริ่มกันตรงไหนดี

7 เริ่มที่ตัวเราดีกว่า 

8 พื้นฐานที่ควรเรียนรู้

9 ทำไมต้องHEAVY

CAD

 GPS

 GIS

 


 

ทำไมต้องมี HEAVY SCAPE เข้ามาเกี่ยวข้อง..

HEAVY SCAPE คืออะไร ความจริงแล้ว มันก็คืองานวิศวกรรมเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องนั่นเอง (SITE ENGINEERING FOR LANDSCAPE ARCHITECTS) แต่ถูกมองข้ามไป ในสังคมของนักออกแบบไทยเรา

ซึ่งแต่เดิมมา เราถูกอบรมสั่งสอนและพยายามสร้างปลูกฝังในมาแสดงตัวเป็น Hero ในสังคมกันเท่านั้น แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องเข้าไปในทุกสาขาอาชีพ และแทบจะเป็นหลักสากลในการทำงาน โดยเฉพาะการออกแบบของเรา ซึ่งจะมีผลทำให้การทำงานต้องดำเนินไปตามระบบอย่างมีแบบแผน เพื่อความถูกต้อง แม่นยำ และสื่อสารกันได้อย่างเป็นสากล นั่นคือต้องมีการปรับตัวกันครั้งใหญ่ จากที่เราเคยเอาความรู้สึก และความรู้ ความสามารถที่มีอยู่เดิม และเคยใช้ได้ผลกันมาแล้วมาปรับปรุง Recicle ใหม่ หรือที่เขาเรียกกันว่า Reengineering เพื่อให้เกิดการพัฒนางาน และสร้างผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นสากล

ในที่นี้ ผู้เขียนหมายถึงการกลับไปหาจุดอ่อน ข้อบกพร่องของการทำงานที่ผ่านมา โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นตัวกลางในการพิสูจน์งาน และกลับมาวิเคราะห์ผลงานและวิธีการทำงานกันตั้งแต่จุดเริ่มต้น โดยเราจะเริ่มต้นกันตั้งแต่ การรับงาน LANDSCPAE กันสักชิ้นหนึ่ง เคยมีบ้างไหม หรือมีนักออกแบบคนใด ที่เข้าไปตรวจสอบข้อมูลที่เป็น BASE PLAN ตัวเองให้ถูกต้องเป็นจริงเสียก่อน ก่อนแล้วจึงลงมือทำงานออกแบบกัน ซึ่งส่วนมากก็อาศัยเพียงจากเอกสารของทางราชการสมัยเก่า ๆ เช่น โฉนดที่ดีนมาคัดลอก ขยายด้วยความรู้ที่พอมีอยู่ หรือพึ่งเครื่องมือที่พอหาได้ใกล้ ๆ ตัวที่คิดว่าดีที่สุด และเป็นข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดแล้ว สุดท้ายก็พลาด จริงๆ แล้วใครหล่ะที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งก็ต้องโยนความผิดกันไปมาไม่มีการจบสิ้นเหมือนที่เป็นกันอยู่ ซึ่งเราไม่ได้โทษระบบการเก็บข้อมูลของทางราชการ ซึ่งดำเนินกันมานานนมแล้ว หรือกล่าวหาท่านว่าล้าสมัย

แต่เราควรตรวจสอบ พิสูจน์กันอีกครั้งก่อนการวางผังวางแผนในขั้นตอนที่จะลงมือจริง เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการแก้ปัญหาภายในหน้างานหน้าสนาม อย่างที่เคยเป็นกันอยู่ จนเป็นเรื่องประจำแบบธรรมดาไปแล้ว เเละก็ถูกกล่าวหาว่าวิชาชีพของเราไม่เป็นจริงพิสูจน์ไม่ได้อย่างที่เขาว่ากัน ในความเป็นจริงเเต่เดิมนักออกแบบไม่เคยใส่ใจกันเลยในจุดนี้ หรือคิดว่าไม่จำเป็นเพราะคิดว่ามีผู้รับผิดชอบข้อมูลเบื้องต้นนี้อยู่แล้ว

แต่จงสำนึกไว้ว่า นี่ก็คืองานของเราที่รับผิดชอบอยู่ ดังนั้นเราจะละเลยในจุดนี้ไปเสียไม่ได้ และถ้าเป็นงานในระดับที่ใหญ่ ๆ ขึ้นไป ความสำคัญในจุดนี้ยิ่งเป็นเรื่องจำเป็น และอย่างน้อยเราควรรู้ที่มาที่ไปของแหล่งข้อมูลให้ชัด และแจ้งให้เจ้าของงานทราบเสียแต่เบื้องต้น และถ้าเราไม่มีความสามารถจริง ๆ ในจุดนี้ที่จะตรวจสอบได้ ก็ควรแนะนำให้มีการว่าจ้าง หรือนำช่างสำรวจที่มีความสามารถ เชื่อถือได้ มาทำในขั้นตอนนี้เสียแต่เริ่มต้น เพื่อจะไม่เป็นการผิดพลาด และถูกต่อว่าให้เสียหายกันได้ในภายหลัง เมื่อถึงตอนลงมือทำงานกันจริง ๆ

และที่สำคัญที่สุดก็คือ ในระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบนี้ โปรแกรมต่าง ๆ ที่เราจะนำมาใช้ในการทำงาน ล้วนแต่ต้องการข้อมูลเริ่มต้นที่เป็นจริงเท่านั้น แล้วมันจึงจะดำเนินขั้นตอนต่อ ๆ ไ ปได้ดี เเละถูกต้องอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงจากการเขียนด้วยมือแบบเดิม มาเป็นการเขียนรูปผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเพื่อให้งานออกมาดูดีเท่านั้น และเราก็จะเป็นเพียง DRAF MAN คนหนึ่งในวงการออกแบบ ที่อยู๋ในสังคมร่วมกับเขาได้โดยไม่ตกยุคเท่านั้นเอง ซึ่งก็จะมิใช่นักออกแบบที่แท้จริง (DESIGNER)

ดังที่กล่าวมาแล้วว่า วิชา LANDSCAPE เราเป็นวิชาที่เป็นเหตุ เป็นผล ข้อมูลในเบื้องต้นจำเป็นต้องถูกต้องก่อนเป็นอย่างแรก ดังนั้นเราจึงควรต้องมาทบทวน ศึกษาวิชาความรู้เรื่องของการสำรวจ (SURVEY)เบื้องต้นกันใหม่อีกครั้งเพิ่มเติมในเรื่องของข้อมูลที่มา วงรอบ ขอบเขตที่ดิน (TRAVERSE) ค่าระดับเส้นชั้น ความสูง (TOPORGAPHIC MAP) ซึ่งเป็นพื้นฐานหลัก ที่จะเป็นแบบเริ่มต้นของการทำงาน (BASE MAP) ที่เป็นหัวใจสำคัญของงานจริง ๆ โดยที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องและต้องนำมาใช้ประโยชน์กับงาน เกี่ยวกับขั้นตอนการออกแบบที่ควรรู้ไว้เท่านั้น ซึ่งก็คือ วิชาการสำรวจในงานภูมิทัศน์ (LANDSCAPE SURVEYING)ที่เคยได้เรียนเป็นวิชาพื้นฐานกันมาแล้ว ไม่ใช่การเรียนวิชาช่างสำรวจ (SURVEYOR)

จะเห็นได้ว่า เราเริ่มเข้าไปก้าวก่ายงานของสาขาอาชีพอื่นเขาเข้าบ้างแล้ว ซึ่งจริง ๆ แล้ว อาจดูไม่เหมาะสม แต่จำเป็นต้องรู้ และจำเป็นต้องทำ เพราะมันเกี่ยวข้องกับงานเราโดยตรง และบุคลากรด้านนี้โดยตรงจริง ๆ ยังไม่มี

ซึ่งหมายถึงการเก็บข้อมูลสำรวจโดยช่างฯ เพื่อการออกแบบจริง ๆ และกลับมาใช้งานบนพื้นที่จริงได้ตามแบบโดยระบบเดียวกันนี้ และรับผิดชอบข้อมูลได้ 100 % ซึ่งก็คงไม่มีช่างสำรวจคนไหนในตอนนี้ กล้ารับรองอย่างนี้ได้ เพราะยังติดอยู่กับระบบเดิม ๆ กันอยู่ แต่จริง ๆ มันสามารถทำได้นานแล้วและเป็นไปได้จริง ๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ของเครื่องมือสำรวจ โดยใช้กล้องระบบอิเลคโทรนิกส์สมัยใหม่ (TOTAL STATION) นี้เอง

ซึ่งให้ค่าการสำรวจออกมาเป็น “ค่าพิกัด” ที่ถูกต้อง มิใช่การแปลงค่า และสามารถนำค่านี้มาใช้โดยตรงได้กับระบบของคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึง โปรแกรม AUTOCAD ซึ่งต่อไปจะกล่าวถึง โดยเป็นหลักใหญ่ของการศึกษาการใช้งานโปรแกรมเขียนแบบทั่วไป ซึ่งยังมีโปรแกรมย่อย ๆ (THRID PARTY) แยกออกไปเฉพาะด้าน เฉพาะสาขาอาชีพ อีกหลาย ๆ ตัว ที่จะต้องกล่าวถึงในต่อไป

โดยหลังจากนำข้อมูลที่ได้มาจากกล้องสำรวจ ซึ่งอาจจะเป็นค่าสมมุติขึ้น หรือค่าจริง ๆ บนผิวโลก โดยใช้จากจุดอ้างอิงต่าง ๆ ที่พอทราบได้ด้วยวิธีการของช่างสำรวจแล้ว และสร้างจุดอ้างอิงใหม่เข้าไปในพื้นที่ไว้ไม่น้อยกว่า 2 จุด หรือถ้าจะให้ดีก็คือ 3 จุด โดยไม่ลืมเก็บค่าพิกัดตำแหน่งที่สร้างไว้ใหม่นี้กลับมาไว้ในเเบบด้วย เพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงเริ่มต้นของการทำงานภายในสนามครั้งต่อไป ซึ่งหลังจากนำข้อมูลเข้ามาพล๊อตรูปบนโปรแกรม AUTOCAD และทำการออกแบบเสร็จเรียบร้อย ก็สามารถนำค่าพิกัดที่ได้ในการออกแบบจาก AUTOCAD นี้กลับมาวางตำแหน่งลงบนพื้นที่จริงได้โดยถูกต้อง ด้วยระบบพิกันเช่นเดียวกันนี้หรือวิธีการอื่นๆได้

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า มันไม่ใช่กระบวนการและวิธีการอะไรเลย ที่ต้องยุ่งยากจนเราจะทำให้ความถูกต้องเป็นจริงขึ้นไม่ได้ ในขั้นตอนนี้ เพราะปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีที่เขาพยายามสร้างสรรค์กันมาก็เพื่อเอามาช่วยเหลือมนุษย์ให้ทำงานง่ายเข้า และสะดวกรวดเร็วขึ้น ซึ่งรายละเอียดและขั้นตอนวิธีการจะชี้แจงให้เข้าใจในขั้นตอนต่อไป และในตอนนี้เพียงต้องการให้ทราบเทคนิค วิธีการสมัยใหม่ ที่ไม่ต้องมาคอยบวก ลบ คูณ หาร จดจำสูตรต่าง ๆ ให้ยุ่งยากเหมือนเช่นแต่ก่อนแต่พิสูจน์ได้ จึงสามารถลดขั้นตอนการทำงานและโอกาสในความผิดพลาดไปได้มาก

แต่มีสิ่งใหม่ ๆเพิ่มเติม ที่ควรรู้และทำความเข้าใจไว้บ้างก็คือ “ค่าพิกัด” ที่พึงกล่าวถึงผ่านมานี้ ค่าพิกัดคืออะไร จำเป็นอย่างไร ค่าพิกัด (CO-ORDINATE) ก็คือ ระบบการอ้างอิงถึงตำแหน่งที่อยู่ เป็นค่าตัวเลข โดยใช้ตัวเลขสมมุติเป็นหน่วยระยะทาง อ้างถึงค่าแนวดิ่ง และแนวราบ ซึ่งถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การอ่านค่ากราฟในวิชาเลขคณิตสมัยเรียนชั้นประถมดี ๆ นี่เอง แต่มีค่าความสูงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเท่านั้น ซึ่งค่าความสูงจะเกี่ยวข้องในจุดนี้ก็ต่อเมื่อมีความต่างระดับกัน และเป็นการเก็บข้อมูล เพื่อทำเเผนที่ภูมิประเทศที่มีความต่างระดับ (TOPOGRAPHIC MAP) เพื่อประโยชน์ในการออกแบบ ปรับระดับพื้นที่ (GRADINE PLAN) หรือในเรื่องของการระบายน้ำ (DRAINAGE) ฯลฯ

แต่ในขั้นตอนนี้ เรากำลังกล่าวถึงค่าพิกัดตำแหน่งที่ใช้ในการนำมาเป็นข้อมูล ขอบเขตวงรอบ อาณาบริเวณของพื้นที่กันก่อน โดยเราจะใช้เพียงค่าแนวดิ่ง และแนวราบ ซี่งก็คือ ค่า X (ราบ) Y (ดิ่ง) ที่เรารู้จักกันดีแล้ว หรือจะใช้อีกระบบที่วงการสำรวจใช้กันก็คือ ค่า N และ E หรือค่าทิศเหนือ และตะวันออก ซึ่งความจริงแล้วมันก็คือค่าอันเดียวกัน แล้วแต่ใครจะเลือกใช้ ข้อสำคัญก็คือให้เข้าใจเหมือนกันก็แล้วกัน

ในหลักปฏิบัติเเต่เดิมจริง ๆ แล้ว เดิมทีค่าพิกัดในการสำรวจนี้ จะต้องได้มาจากการคำนวณหาค่าที่เกิดจากค่ามุมและระยะ ภายในสนามจากข้อมูลจุดทั้งหมด (FIELD WORK) เสียก่อน และจึงนำข้อมูลดิบมาแปลงแปลเป็นค่าพิกัดของตำแหน่งออกมาเพื่อใช้อีกครั้งหนึ่ง แต่ในขั้นตอนนี้ เราจะขอตัดไปไม่กล่าวถึงในวิธีการนี้ และจะกล่าวในภายหลัง เพื่อนำมาใช้ในการตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาด้วยวิธีการใหม่นี้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการแบบนี้ เพราะข้อมูลดังกล่าวจะไม่ค่อยถูกต้อง แม่นยำนัก และมักมีการปัดตัวเลข ซึ่งหากมีการ MAKE ข้อมูลขึ้น และเป็นข้อมูลจำนวนมาก ๆ จะทำให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นตามกันไปหมด หาที่ผิดจริง ๆ ไม่ได้ แต่ก็เป็นวิธีที่พอที่จะรับได้มากที่สุดในการนำเสนอข้อมูลของช่างสำรวจในปัจจุบันนี้ ที่จะใช้งานร่วมกับระบบการออกแบบได้รวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก และดีกว่าใช้วิธีการลอกรูป แผนผังจากกระดาษ ที่ใครก็ไม่รู้เขียนเอาไว้ โดยไม่มีคนรับผิดชอบเช่นเเต่ก่อน

ดังนั้น จึงพอสรุปแบบรวบรัด เอาแบบง่าย ๆ ว่า ข้อมูลที่จะใช้เป็น BASE MAP (แบบเริ่มต้น) ของการเริ่มต้นการเขียนแบบ ออกแบบใด ๆ ในระบบการออกแบบยุคใหม่นี้ ควรจะเป็นข้อมูลที่ได้มาด้วยวิธีการทำการสำรวจจริงบนพื้นที่ และถ้าจะให้สะดวกยิ่งขึ้น ในการทำงานร่วมกับระบบการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์นี้ (หรือต่อไปจะเรียก AUTOCAT แทน) ควรจะใช้ข้อมูลในรูปของพิกัดหรืออย่างน้อยต้องอ้างอิงถึงมุม และระยะที่สามารถตรวจสอบได้จริงจากงานภาคสนาม จึงจะเป็นการเริ่มต้นของการทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด และเกิดประสิทธิภาพดังที่ได้กล่าวไว้

 


 

 

TOPO STUDIO FORUM
 

บอร์ดแสดงวิสัยทัศน์ด้านGIS&CAD    แลกเปลี่ยนความรู้และแสดงความคิดเห็น

GIS 01
 

WE LOVE THE KING

HOT FORUM
 









  
พรบ.. ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

urban landscape 1 -2 -3 -4 -5











การ์ตูน ล้อการเมืองคลายเครียด 

SITE DIGITAL MAPS
 

    
    

 




ค้นหาตำแหน่งพิกัด ภูมิศาสตร์

MAPsDIGITALกรมแผนที่ทหาร

indexL7018 SCALE1: 50000

indexL1501 SCALE1: 250000

index 1:250000/ L509/1954

ขอบเขตุ การปกครองภาคเหนือ





















EMAIL:thitopo@yahoo.com
 

 

YAHOO / HOTMAIL Google


 

Admin Login
 
03/10/2006 update 07/02/2009
___3500800015681.201238

 

 
Today, there have been 7 visitors (23 hits) on this page!

This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free

3500.8000.15681.201238