จากที่ท้าวความมา..
ดังที่กล่าวเกริ่นมาทั้งหมดข้างต้นนี้ เพราะมีคนส่วนมากที่มักเข้าใจว่า คนที่ทำงานทาง LANDSCAPE คือ นักจัดสวนเพียงอย่างเดียว หรืออาจเรียกให้สวยหรูว่า นักเทคนิคทางภูมิทัศน์ (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร) โดยไม่มีความเข้าใจขอบเขตของงานที่เเท้จริง ซึ่งความเป็นจริงเเล้วการออกแบบโดยการใช้ต้นไม้ (PLANTING -DESIGN) ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานออกแบบ LANDSCAPE เท่านั้น โดยจะต้องมีจุดมุ่งหมายในเชิงของการออกแบบในงาน LANDSCAPE นี้ ซึ่งนอกเหนือจากความงามแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการเจริญเติบโตในระยะเวลาต่อไป (TIME SPAN) ด้วย มิใช่การจำลองสวนหย่อมไว้ดูเล่นชั่วขณะอย่างที่เห็นกันทั่วไป โดยต้องผสานวัตถุประสงค์ในการใช้สอยตามความต้องการในองค์ประกอบของทฤษฎีความงามทางศิลปด้วย เช่นการใช้บังคับมุมมองสายตา, การสร้าง SPACE, การใช้ร่มเงา, การกรองฝุ่น, การป้องกันเสียง, ป้องกันลม ฯลฯ ซึ่งก็เป็นเพียงองค์ประกอบเพียงส่วนเดียวของงานเท่านั้น และยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงดังที่ได้กล่าวมาแล้วอีกมากมาย ที่ต้องศึกษาเพิ่มพูนทักษะพัฒนาความรู้ เพื่อสร้างสรรค์งานในอนาคตต่อไป โดยไม่ให้ใครมาตีความในนิยามของงาน LANDSCAPE ให้เเตกเเยกเเบ่งชั้นอย่างเช่นทุกวันนี้ได้อีกต่อไป
..........ดังนั้น จากข้อเขียนและบทความข้อมูลประกอบโดยย่อเบื้องต้นนี้ คงทำให้เข้าใจและเกิดความรู้สึกที่ดีต่อวิชาชีพ LANDSCAPE ที่พอจะมีวิถีทางชัดเจนขึ้น ซึ่งไม่ได้เป็นเเต่เพียงความหมายที่ดูเเล้วกว้างเเต่ช่องทางกลับคับเเคบจนเกินไป อย่างที่เคยเป็น เคยคิดกัน และการที่จะเป็นนักออกเเบบที่สมบูรณ์ในงาน LANDSCAPE นี้ได้ เเละเป็นที่ยอมรับของสังคมได้ในอนาคตนั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวของเเต่ละบุคคล หากมีความพยายามฝึกฝน พัฒนาความสามารถในส่วนที่แต่ละคนขาดไป และประยุกต์ใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละโอกาส อย่างเป็นขั้นตอนและถูกต้องชัดเจน ด้วยความมั่นใจก็จะต้องมีทางประสปความสำเร็จได้ โดยไม่ต้องเรียกร้องหรือรอให้ใครมายกย่องเป็น “ภูมิสถาปนิก” หรือเเค่ “นักเทคนิคทางต้นไม้”อีกต่อไป
|