การพัฒนาพื้นฐานที่ควรเรียนรู้..
จากพื้นฐานของบุคลากรในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอาชีพ LANDSCAPE ในเมืองไทยปัจจุบันนี้ พอจะแยกออกได้ตามความถนัดของงานเป็น 2 แนวทาง คือ ผู้ที่มีความรู้ความชำนาฐทางด้าน HARDSCAPE และทางด้าน SOFTSCAPE ซึ่งต่างก็มีพื้นฐานทางการศึกษาที่ต่างกัน และพยายามแยกออกจากกันโดยไม่มีตัวเชื่อมประสานในระบบ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้นในตัวได้ ดังนั้นผู้เขียนจึงอยากจะให้เกิดมีแนวทางใหม่เพิ่มขึ้น และจะเรียกเอาเองว่า “HEAVY SCAPE” ที่จะเป็นตัวกลาง เพื่อวัดความสามารถและพัฒนาการ ของการเป็นนักออกแบบที่ดีให้เกิดขึ้นประจักชัดเจน ถูกต้อง และตรวจสอบ วิเคราะห์ผลทางวิศวกรรมได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล สมกับคำว่า LANDSCAPE ที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป ซึ่งก็คือการนำศิลปและวิชาการมาผสมผสานใช้ร่วมกันให้เกิดการสร้างสรรค์ความงดงามขึ้นอย่างมีเหตุมีผล สามารถปฏิบัติได้จริง และสื่อสารวิธีการทำงานที่ถูกต้องตามวิชาการให้กับบุคคลอื่น ในทุก ๆ สาขาอาชีพที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องและเกิดการยอมรับได้ โดยไม่ขัดแย้งหรือต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาภายหลังอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
เเละจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ ไม่เกิดการยอมรับในสัมคมปัจจุบัน เพราะเห็นว่างานออกแบบทาง LANDSCAPE ไม่เป็นงานทางวิชาการหรือวิศวกรรม พิสูจน์ไม่ได้ เเละเป็นเพียงจินตนาการหรือรูปวาดที่ไม่มีอะไรแน่นอน และปฏิบัติให้ถูกต้องแม่นยำจริง ๆ ไม่ได้
ซึ่งในทางปฏิบัติจริง ๆ แล้ว ปัญหามันเกิดจากความผิดของตัวนักออกแบบเอง ที่ขาดความรู้ในด้านอื่นๆเเละพื้นฐานของงานด้านสำรวจ (SURVEY) โดยการทำงานในเบื้องต้นไม่สามารถตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลแผนผัง ที่ตนเองทำให้เข้าใจหรือรู้จริงถูกต้องเสียก่อน แต่ดันทุรังทำไปเพราะคิดว่าตัวเองมีความรู้พอแล้ว รีบทำงานจึงเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมายอย่างที่ได้ชี้ให้เห็นชัด ๆ ตรงนี้
|